(ท่านสามารถรับชมวีดีโอสรุปผลการดำเนินโครงการโดยคลิกที่รูปด้านบน)
ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) มีกรอบแนวคิดด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ที่มุ่งเน้นการพัฒนาภาคการผลิตและบริการให้สามารถแข่งขันได้ เกิดความยั่งยืน ประชาชนมีคุณภาพชีวิต และมีรายได้ที่ดีขึ้น แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) ยุทธศาสตร์ที่ 3 การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน มีแนวทางเสริมสร้างขีดความสามารถการแข่งขันในเชิงธุรกิจของภาคบริการ และพันธกิจกระทรวงมหาดไทย ข้อ 4 เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและเศรษฐกิจฐานราก โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจนภารกิจอำนาจหน้าที่ของกรมการพัฒนาชุมชน ในการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชน ส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนฐานรากให้มีความมั่นคงและมีเสถียรภาพ รวมทั้งเสริมสร้างความสามารถและความเข้มแข็งของชุมชน
กรมการพัฒนาชุมชน ร่วมกับ องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (Japan International Cooperation Agency: JICA) ดำเนินงานโครงการเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการชุมชน (Project for Community-Based Entrepreneurship Promotion) โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่โครงการฯ ได้รับการกระตุ้นด้วยการเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการในชุมชน และกำหนดวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ประกอบการในชุมชนได้รับการพัฒนาตามแนวทางการจัดนิทรรศการแบบกระจายที่ผู้บริโภคได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง (Decentralized Hands – On Program Exhibition : D - HOPE ระยะเวลาดำเนินการ ๔ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๖๔) โดยอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชนได้ลงนามในบันทึกการหารือ (Record of Discussions ของโครงการ “Project for Community – based Entrepreneurship Promotion” เพื่อร่วมมือกับฝ่ายญี่ปุ่นในการขับเคลื่อนโครงการในพื้นที่เป้าหมาย และได้เริ่มดำเนินงานเมื่อปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 จำนวน 9 จังหวัด คือจังหวัดนครพนม มุกดาหาร สุรินทร์ เชียงใหม่ ลำพูน ชลบุรี จันทบุรี ระนอง และจังหวัดตรัง และจำนวนจังหวัดเข้าร่วมจะเพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี ซึ่งในการดำเนินงานแต่งละปีจะเป็นการร่วมกันจ่าย (Cost Sharing) ระหว่างกรมการพัฒนาชุมชนกับองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (Japan International Cooperation Agency: JICA) และในปีงบประมาณ พ.ศ. พ.ศ. 2562 ดำเนินงานในพื้นที่ 5 จังหวัด คือ จังหวัดลพบุรี สิงห์บุรี ราชบุรี พังงา และจังหวัดพัทลุง เพื่อเป็นการขยายพื้นที่ดำเนินงานเพิ่มจากปีที่ 1 โดยส่งเสริมให้พื้นที่เป้าหมายมีผู้ประกอบการเพิ่มขึ้นและพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้เกิดความยั่งยืน
2.1 เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการ กลุ่มองค์กร และครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการในชุมชนให้สามารถจัดกิจกรรมที่ผู้บริโภคลงมือทำด้วยตนเอง (Hands – On Program Exhibition) ตามแนวทาง D – HOPE
2.2 เพื่อให้ผู้ประกอบการ/ผู้เข้าร่วมโครงการมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจัดโปรแกรมที่ผู้บริโภคได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง (Hands – On Program Exhibition)
3.1 ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการพัฒนาเป็นผู้ประกอบการที่สามารถจัดกิจกรรมที่ผู้บริโภคลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง (Hands – On Program Exhibition) และมีผู้บริโภคเข้าร่วม
3.2 ร้อยละ 50 ของผู้ประกอบการ Hands – On Program Exhibition มีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 5,000 บาท
4.1 มีจำนวนผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ได้รับการพัฒนาให้เป็นที่ต้องการของลูกค้าเพิ่มมากขึ้น
4.2 การพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงกับหมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยว, OTOP นวัตวิถี, สัมมาชีพชุมชน และการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่บริหารจัดการโดยชุมชน
4.3 มีผู้ประกอบการเพิ่มมากขึ้น และมีรายได้เพิ่มมากขึ้นจากการเข้าร่วมกิจกรรม
1.โครงการส่งเสริมความเป็นผู้ประกอบการชุมชน (โครงการ D-HOPE)
2. D-HOPE เพื่อการพัฒนาศักยภาพชุมชนและการพัฒนาชนบท เพื่อส่งเสริมความเป็นผู้ประกอบการ
D-HOPE คืองานอีเวนต์ที่จัดขึ้นเพื่อมุ่งประชาสัมพันธ์ทรัพยากรท้องถิ่นและแชมป์เปียนประจำชุมชนให้เป็นที่รู้จักแก่สาธารณะชน นอกจากนี้ ยังเป็นสถานที่ที่กระตุ้นให้แชมป์เปียนประจำชุมชนมีความเป็นผู้ประกอบการและมีความคิดสร้างนวัตกรรม โดยที่ชุมชนสร้างสิ่งดึงดูดของหมู่บ้านผ่านกระบวนการประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และการจัดนิทรรศการ D-HOPE และที่สำคัญยังเป็นแนวทางเลือกหนึ่งสำหรับการพัฒนาเพื่อส่งเสริมศักยภาพของชุมชนรวมถึงการพัฒนาชนบท
3. กรอบความคิดของ D-HOPE
D-HOPE จัดงานอีเวนต์ที่ใช้ระยะการดำเนินการเพียงไม่กี่เดือน โดยนำเสนอกิจกรรมในท้องถิ่นที่คนส่วนใหญ่มองข้าม ผ่านโครงการที่ผู้เข้าร่วมสามารถลงมือปฏิบัติได้เองที่จัดดำเนินการโดยแชมป์ประจำชุมชนที่สามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในท้องถิ่น (ภูปัญญา ความรู้ ความสามารถ ทักษะ และอื่นๆ) ณ สถานที่ที่พวกเขากำหนดเองต่อสาธารณะชน ดังนั้น D-HOPE เป็นกิจกรรมแบบรวมที่จะทำให้ความสามารถพิเศษของแชมป์เปียนประจำชุมชนเป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชนผ่านการโฆษณาในแคตตาล็อก D-HOPE ที่บรรจุข้อมูลโปรแกรมที่ผู้เข้าชมสามารถลงมือปฏิบัติได้ทั้งหมดที่ผ่านการเตรียมการโดยสำนักงานพัฒนาชุมชนระดับจังหวัดแล้ว
ดังนั้น D-HOPE จึงเสริมสร้างความสามารถของแชมป์เปียนประจำชุมชนผ่านการประชุมเชิงปฏิบัติการที่จะถูกจัดขึ้นหลาย ๆ ครั้ง ซึ่งรวมถึงการสนทนากลุ่มและการทดลองจัดโปรแกรมที่ผู้เข้าชมสามารถลงมือปฏิบัติได้จริงเพื่อออกแบบและพัฒนาโปรแกรมดังกล่าว และการดำเนินการที่เปิดให้ผู้ที่สนใจเข้าร่วมในงานอีเวนต์จริง อีเวนต์ D-HOPE ช่วยให้แชมป์เปียนมีความเป็นผู้ประกอบการ และมีแนวคิดสร้างนวัตกรรม ผ่านการเปิดเผยผลิตภัณฑ์และการบริการที่มีอยู่หรือมีแนวโน้มที่จะพัฒนาผ่านการมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับผู้มาเยือน
3.1 D-HOPE หรือ Decentralized Hands-on Program Exhibition (นิทรรศการแบบกระจายที่ผู้เข้าร่วมสามารถลงมือปฏิบัติได้)
D-HOPE มีลักษณะแตกต่างจากนิทรรศการ OTOP ที่ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดถูกนำมารวมศูนย์จัดแสดงในที่เดียวกัน (แบบรวมตัวสู่ศูนย์กลาง) ในทางกลับกันนิทรรศการ D-HOPE นั้นอยู่ในลักษณะกระจาย กล่าวคือโปรแกรมที่ผู้เข้าชมสามารถร่วมลงมือปฏิบัติเองนั้นเกิดจากการเลือกคัดสรรโดยบรรดาผู้ผลิตและผู้ให้บริการ กิจกรรมเน้นในลักษณะให้ผู้เข้าชมร่วมลงมือทำมากกว่าการจัดงานแบบศูนย์แสดงสินค้า เพื่อที่นักท่องเที่ยวหรือผู้มาเยือนท้องถิ่นสามารถเรียนรู้จากการร่วมประสบการณ์จริงในกิจกรรมนั้น ๆ รายได้
จากการขายโปรแกรมที่ผู้เข้าชมสามารถร่วมลงมือปฏิบัติเองจึงจะถูกกระจายไปได้ทั่วทั้งหมู่บ้านเป้าหมาย ถือการให้โอกาสแก่คนท้องถิ่น นอกจากนี้ แทนที่ผู้ผลิตจะต้องเดินทางออกจากหมู่บ้านไปยังอีกสถานที่ที่หนึ่งเพื่อจัดแสดงสินค้าและขายสินค้า นักท่องเที่ยวหรือผู้ที่สนใจจะเป็นผู้เดินทางไปยังหมู่บ้าน เพื่อสัมผัสวิถีชีวิตของคนท้องถิ่นและใช้ชีวิตตามมุมมองของคนท้องถิ่น ซึ่งนับเป็นสิ่งที่สร้างแรงดึงดูดที่สำคัญที่สุดและกำลังเป็นกระแสการท่องเที่ยวในปัจจุบัน
ตารางที่ 1: ลักษณะของงานแสดงสินค้า
แบบรวมศูนย์ | แบบกระจาย | |
เน้นการจัดแสดง | ||
เน้นผู้เข้าชมร่วมลงมือปฏิบัติ |
3.2 D-HOPE และเศรษฐกิจแบบสร้างประสบการณ์
D-HOPE ถูกออกแบบตามทฤษฎีเศรษฐกิจแบบสร้างประสบการณ์ (ไพน์ และ กิลมอร์, 1998) ซึ่งเน้นการเปลี่ยนผ่านการพัฒนาทางเศรษฐกิจจากสินค้าโภคภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ การบริการ ไปสู่การร่วมแบ่งปันประสบการณ์ หรือการเปลี่ยนไปสู่อีกขั้น ซึ่งประสบการณ์มีมูลค่าสูงกว่าผลิตภัณฑ์และการบริการเป็นอย่างมาก ดังแสดงในรูปที่ 1 และ 2 ดังนั้น โปรแกรมที่ผู้เข้าชมสามารถลงมือปฏิบัติได้จึงถูกออกแบบขึ้นเพื่อให้ผู้มาเยือนได้สัมผัสวิถีชีวิตแบบท้องถิ่น ในขณะที่ผู้ให้บริการสามารถเก็บเงินค่าสร้างประสบการณ์ (ค่าเข้าร่วม) ได้ จึงเป็นกระบวนการที่ต้องทำมากกว่าการพานักท่องเที่ยวไปชมสถานที่ต่าง ๆ
รูปที่ 1: การเข้าสู่เศรษฐกิจแบบสร้างประสบการณ์: ราคาก๋วยเตี๋ยว
รูปที่ 2: กระบวนการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ
3.3 คำนิยามของโปรแกรมที่ผู้เข้าชมสามารถลงมือปฏิบัติ (Hands-on Program)
โปรแกรมที่ผู้เข้าชมสามารถลงมือปฏิบัติประกอบด้วยเรื่องราวของแชมป์ประจำท้องถิ่น และรูปถ่ายของพวกเขา พร้อมรายละเอียดโปรแกรมที่พวกเขาได้ออกแบบ เพื่อเน้นเสนอความเป็นผู้ประกอบการของแต่ละคนที่เมื่อนำมารวมไว้ด้วยกันช่วยสร้างความหลายกหลายของแหล่งท่องเที่ยวในหมู่บ้าน ดังนั้น จึงควรส่งเสริมให้แต่ละคนคิดโปรแกรมที่ผู้เข้าชมสามารถลงมือปฏิบัติ โดยเน้นที่เรื่องราวของผู้ประกอบการเพื่อพัฒนาศักยภาพของพวกเขา กุญแจสำคัญของโปรแกรมที่ผู้เข้าชมสามารถลงมือปฏิบัติคือการมีกิจกรรมที่ผู้เข้าชมได้ลองทำเพื่อสร้างประสบการณ์แล้วก็สนุกไปพร้อมๆกัน
3.4 จากใหญ่ไปสู่เล็ก
D-HOPE เน้นกิจกรรมเล็ก ๆ ที่คิดโดยแต่ละคน และรวบรวมให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ การรวบรวมสิ่งเล็ก ๆ จนนำไปสู่สิ่งใหญ่สิ่งหนึ่งก็จะได้แคตตาล็อกที่มีความหลายหลาย ในการทำเช่นนี้ กระบวนการ D-HOPE จึงเป็นการเปิดกว้างและหลอมรวมชุมชนให้เป็นหนึ่งเดียวโดยการส่งเสริมให้ทุกคนมีส่วนร่วม นำไปสู่การพัฒนาแบบมีส่วนร่วมในชุมชน นอกจากนี้ หมู่บ้านยังสามารถจัดสิ่งดึงดูดผู้มาเยือนให้มีความหลากหลาย เพื่อเพิ่มโอกาสในการเพิ่มรายได้ และกลายเป็นผู้ประกอบการที่มีนวัตกรรม
ยกตัวอย่างเช่น ได้มีการคิดโปรแกรมที่ผู้เข้าชมร่วมลงมือปฏิบัติโปรแกรมหนึ่งขึ้นมาเพื่อช่วยกันหาทางออกเรื่องการวางแผน การดำเนินงาน และการประเมิน เพื่อให้บรรดาผู้ประกอบการสามารถพัฒนาศักยภาพด้านการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นธรรมดาที่ระยะเวลาและเนื้อหาของโปรแกรมของแต่ละคนอาจแตกต่างกันออกไป ดังนั้น โปรแกรมที่เวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมงจึงนับว่าเพียงพอ ชาวบ้านที่เหลือในหมู่บ้านก็ยังสามารถสนับสนุนแชมป์ผู้ประกอบการเหล่านี้ ซึ่งเป็นการส่งเสริมกลไกการสนับสนุนกันภายในหมู่บ้าน และเป็นการสร้างเครือข่ายระหว่างลูกบ้านเพื่อเพิ่มศักยภาพของชุมชน
เช่นนี้ แม้กระทั่งชุมชนเล็ก ๆ ที่ไม่เป็นที่รู้จักก็มีโอกาสแข่งขันกับเมืองท่องเที่ยวขนาดใหญ่โดยไม่ต้องทุ่มลงทุนโครงสร้างพื้นฐานได้
3.5 นิทรรศการ D-HOPE เพื่อส่งเสริมความเป็นผู้ประกอบการ และกลยุทธ์การตลาด
เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ได้พัฒนาช่องทางการสื่อสารขึ้นมามากมาย ตัวอย่างเช่น Google Map มี Street view ที่ทุกคนสามารถใส่ข้อมูลสถานที่ได้ ดังนั้น ผู้คนจึงต้องการค้นหาสิ่งที่ยังไม่ถูกค้นพบ และอาจไม่ใส่ใจกับสิ่งที่สามารถ Google หาข้อมูลได้ง่าย ผู้มาเยือนจึงมาเพื่อค้นหาประสบการณ์ที่มีลักษณะเฉพาะตัวที่หาที่ไหนไม่ได้อีก ซึ่งเป็นคุณค่าที่ยังไม่มีผู้ใดค้นพบ ดังนั้น แคตตาล็อก D-HOPE จึงเป็นเครื่องมือเผยแพร่คุณค่าเหล่านั้นในชุมชนสำหรับช่วงเวลาหนึ่ง ๆ (งานแฟร์ที่จัดขึ้นเป็นเดือน ๆ) และยังเป็นงานระดับจังหวัดที่ผู้คนท้องถิ่นสามารถเข้ามาร่วมเฉลิมฉลองได้อีกด้วย จึงไม่มีทางที่นักท่องเที่ยวจะรู้สึกมีความสุขสนุกสนานได้ ถ้าหากผู้คนท้องถิ่นไม่รู้สึกสุขสนุกสนานเบิกบานในวิถีชีวิตของตนเสียก่อน
อีกประการหนึ่งคือ การให้ผู้มาเยือนเป็นผู้เลือกสถานที่ที่อยากไป สถานที่กิน สถานที่ชม และเก็บเกี่ยวประสบการณ์ การที่ผู้มาเยือนมีตัวเลือกมากมายหลากหลายทำให้พวกเขาสามารถวางแผนโปรแกรมการท่องเที่ยวได้ในแบบที่ต้องการ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความพึงพอใจ และหมู่บ้านเองก็สามารถสนองตอบความต้องการได้ครบถ้วนเช่นเดียวกัน
ดังนั้น นิทรรศการ D-HOPE จึงเริ่มจากพิธีเปิดตัว เพื่อให้สาธารณชนรับรู้เกี่ยวกับนิทรรศการและแคตตาล็อก เมื่อนิทรรศการเริ่มขึ้น ผู้มาเยือนสามารถเลือกได้ว่าต้องการไปเยือนหมู่บ้านใด ต้องการร่วมกิจกรรมแบบลงมือปฏิบัติกิจกรรมใด และติดต่อกับแชมป์ผู้ประกอบการโดยตรง ดังนั้น แชมป์ผู้ประกอบการจะต้องพยายามเผยแพร่กิจกรรมแบบร่วมลงมือปฏิบัติเพื่อดึงดูด ผู้มาเยือนในระหว่างช่วงงานนิทรรศการให้มาก ซึ่งเป็นการฝึกฝนทักษะทางการตลาดเช่นกัน และยังสามารถเผยแพร่แคตตาล็อกผ่านทางสื่อดิจิทัล หรือแชร์ผ่านโซเชียลมีเดีย เช่น ทางเฟสบุ๊ก หรือเว็บไซต์
ถึงที่สุดแล้ว แนวทาง D-HOPE คือเวทีที่ผู้ผลิตและผู้ให้บริการสามารถพัฒนาขึ้นมาเป็นผู้ประกอบการ โดยการพัฒนาศักยภาพและแนวคิดใหม่ๆเพื่อสร้างหรือยกระดับกิจการของพวกเขา โดยผ่านทางการปฏิสัมพันธ์กับ ผู้มาเยือน เช่นนี้ จะทำให้ผู้ประกอบการเข้าใจความต้องการของตลาดได้ดีขึ้น และสะท้อนข้อมูลเหล่านั้น (เปรียบได้กับการทำแบบสำรวจความพึงพอใจของลูกค้า) ผ่านทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการให้บริการ หรือนำไปสู่การคิดค้นธุรกิจใหม่ ๆ แคตตาล็อกจึงอาจนับเป็นการทดลองทางการตลาดเพื่อพัฒนาและปรับปรุงธุรกิจ ดังนั้น การที่มีโปรแกรมที่ผู้เข้าชมร่วมลงมือปฏิบัติรวบรวมอยู่ในแคตตาล็อกให้มากจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก เมื่อว่ากันตามหลักการกระจายโดยปกติแล้ว ยิ่งโปรแกรมเหล่านั้นเป็นที่รับรู้มากเท่าไร โปรแกรมผู้เข้าชมร่วมลงมือปฏิบัติเหล่านั้นก็สามารถให้ผลลัพธ์ที่ยอดเยี่ยมได้มากขึ้นเท่านั้น แคตตาล็อก D-HOPE ยังเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของชุมชน เมื่อเรามีข้อมูลมากขนาดนี้ในแคตตาล็อกหนึ่งเล่มแล้ว ก็นับเป็นเครื่องมืออันทรงพลังที่จะให้ผู้คนในท้องถิ่นได้นำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้ได้
ท่านสามารถรับชมสารคดีความเป็นมาของแนวทาง D-HOPE ได้ที่นี่
ติดต่อ
สำนักงานโครงการ D-HOPE กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย
ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ อาคารB ชั้น5
ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
โทร: 092-883-1405 อีเมลล์: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
Line ID: dhope.thailand
Facebook: https://www.facebook.com/jica.thailand.dhope
สำนักงานโครงการ D-HOPE กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย
ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ อาคารB ชั้น 5 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
โทร: 092-883-1405 Line ID: dhope.thailand
Facebook: https://www.facebook.com/thailand.dhope